คำ

คำ
     
       หน่วยคำเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของภาษาไทยที่มีความหมาย ชึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับนิยามของคำ จะพบว่า นิยามของหน่วยคำนั้นรัดกุมและชัดเจนกว่า    


      คำ หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดของเสียงพูด (หรืออักษรที่ใช้แทนเสียงพูด) ที่มีความหมายในตัว

      พยางค์เพียงพยางค์เดียวที่มีความหมาย เรียกว่า คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย น้า อา ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น พยางค์ที่รวมกันหลายพยางค์จึงจะมีความหมาย เรียกว่า คำหลายพยางค์ เช่น นาฬิกา โกโรโกโส เป็นต้น

     คำที่ใช้ในภาษาไม่อาจคงอยู่ได้นานคงทนไปทุกคำ บางคำคงอยู่ได้ บางคำเลิกใช้ไปพร้อมกันนั้นก็มีคำขึ้นใหม่ชดเชยคำที่เลิกใช้และเพิ่มขึ้นใหม่โดยตรง เพื่อสนองความต้องการของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป

    คำที่เกิดขึ้นใหม่บางคำ เช่น คำคะนอง (slang) โดยมากใช้อยู่ช่วงเวลาหนึ่งก็เลิกไป แต่บางคำอาจติดอยู่ในภาษาไทยได้นาน

    คำเป็นพื่นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้เรื่องประโยค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป เพื่อบอกหน้าที่แตกต่างทางไวยากรณ์หรือเพื่อบอกความสัมพันธ์ของคำที่เรียงกันอยู่ในประโยค คาวมสัมพันธ์ของคำแสดงด้วยการปรากฏร่วมกันของคำและลำดับหรือตำแหน่งที่ปรากฏก่อนหลังของคำ เมื่อคำปรากฏร่วมกันอาจทำหน้าที่แยกกันหรือร่วมเข้าด้วยกันเป็นหน่วยเดียวและทำหน้าที่เดียวกันก็ได้

   ชนิดของคำ
       เกณฑ์การจำแนกคำมีหลายเกณฑ์ จำนวนของคำก็แตกต่างกันไป เช่น พระยาอุปกิตศิลปสาร จำแนกคำออกเป็น ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธานและคำอุทาน




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น