เสียงของอักษรไทย

     
เสียงของอักษรไทย
     ทุกชนชาติทุกภาษามีอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงเหมือนกัน แต่หากมีภาษาที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละกลุ่มชนเลือกเสียงมาใช้เพียงจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นเสียงสำคัญในแต่ละภาษา เสียงที่ถูกเลือกมาเป็นเสียงสำคัญนี้ วิชาภาษาศาสตร์เรียกว่า หน่วยเสียง
   
   หน่วยเสียง (Phoneme) หมายถึง เสียงพูดที่ใช้กันในภาษาหนึ่งๆ ซึ่งหน่วยเสียงเเต่ละภาษาก็ย่อมมีความแตกต่างกันไป

   ในภาษาไทย เสียงที่ใช้ก็จะมีเสียง สระ พยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์

       เสียงสระ สำหรับภาษาไทยมีสระ ๒๑ รูป ๒๑ เสียง  เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งออกมาโดยไม่ถูกอวัยวะภายในกักลม ดังนั้นเสียงสระจึงเป็นเสียงห้อง และออกเสียงให้ยาวนานได้ อวันยวะที่เกี่ยวกับการออกเสียงสระได้แก่ลิ้นกับริมฝีปาก ถ้าลิ้นส่วนใดทำหน้าที่เพียงส่วนเดียวเสียงสระที่เกิดขึ้นจะมีเพียงเสียงเดียวจะเรียกสระประเภทนี้ว่า สระเดี่ยว หากมีลิ้นส่วนอื่นทำหน้าที่ด้วยก็จะเรียกว่าสระประสม
           
                ๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น            - สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น
                   สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ
                   สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ
           - สระประสม มีจำนวน ๖ เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น
                   สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่
                        เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ
                        เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ
                        อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ
                  สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่
                        เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา
                        เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา
                        อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา
*ส่วนเสียงสระ เอียะ เอือะ อัวะ  มักเกิดในการเลียนเสียงหรือคำยืมในภาษาต่างประเทศและไม่ค่อยประกฎในภาษาไทยจึงไม่นับ

              ๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป ดังต่อไปนี้
                                                   

 เสียงพยัญชนะ
รูปพยัญชนะ 















/ ก /
/ ค /
/ ง /
/ จ /
/ ช /
/ ซ /
/ ย /
/ ด /
/ ต /
/ ท /
/ น /
/ บ /
/ ป /
/ พ /
/ ฟ /
/ ม /
/ ร /
/ ล /
/ ว /
/ ฮ /
/ อ /

 ข  ฃ  ค  ฆ


ช  ฉ  ฌ
ซ  ส  ศ  ษ
ญ  ย
ฎ  ด
ฏ  ต
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ 
น  ณ


ผ  พ  ภ
ฝ  ฟ


ล  ฬ

ห  ฮ
 



                ๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี ๕ เสียง ดังนี้

เสียงวรรณยุกต์                 รูปวรรณยุกต์
เสียงสามัญ                    ไม่มีรูป
                                                         เสียงเอก                         ่           
                                                         เสียงโท                           ้ 
                                                         เสียงตรี                           ๊     
                                                         เสียงจัตวา                       ๋

                                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น