แนะนำตัวผู้เขียน

นายอดิศักดิ์  ลาศรีทัศน์ 



กำลังศึกษาอยู่ที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
คณะครุศาสตร์  สาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ ๔
รหัสนักศึกษา  ๕๖๓๔๑๐๐๑๐๑๕๐

      อดิศักดิ์  ลาศรีทัศน์ จัดเรียงถ้อย           ผู้เรียงร้อยถ้อยคำนำวิถี
ความรู้สึกกลั่นมาเป็นวจี                                      ปรากฏที่บทกลอนไว้สอนใจ
      หากจะถามนามปากกา เงาในนำ                         ดั่งความงามของสายธารที่สดใส
     สะท้อนภาพสังคมที่เป็นไป                                 ดั่งชีวิตแขวนไว้บนปลายปากกา 
         ห้องทำนองครรลองของชีวิต                 ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อรักษา
วรรณกรรมศิลปะวิทยา                                        จะนำพาให้อยู่รอดตลอดไป  
         แต่งเรื่องสั้นปั้นกลอนสอนภาษา                         เหมือนแสงเทียนส่องมาสว่างไสว 
     เป็นเรือน้อยคอยส่งตรงเส้นชัย                           เป็นครูไทยใจต้องหมั่นขยันเอย 



(เงาในน้ำ)


 

วลีและประโยค

วลี
   วลี หมายถึง หน่วยทางภาษาที่ใช้เป็นส่วนประกอบประโยค เมื่อประกอบเข้ากับประโยคแล้ววลีย่อมทำหน้าที่ใดหน้าที่หนึ่ง ได้แก่ ภาคประธาน ภาคแสดง หรือส่วนขยาย วลีอาจประกอบด้วย ๑ คำ หรือหลายคำก็ได้

   ประเภทของวลี  แบ่งได้ ๕ ประเภท ดังนี้    
 
      นามวลี คือ วลีที่ยามหรือกลุ่มนามเป็นส่วนหลัก นามวลีทำหน้าที่เหมือนคำนาม คือ เป็นประธาน กรรม หน่วยเติมเต็ม หน่วยเสริมความหรือขยายคำนามอื่น

      ปริมาณวลี คือ วลีที่ประกอบด้วยคำที่เกี่ยวกับจำนวน ได้แก่ คำบอกจำนวน  คำบอกลำดับ และคำลักษณนามเป็นส่วนประกอบสำคัญ

      กริยาวลี คือ วลีที่มีหน่วยกริยาเป็นส่วนประกอบหลัก กริยาวลีเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของประโยค ประโยคย่อย และอนุประโยค

      บุพบทวลี คือ วลีที่ประกอบด้วยคำบุพบทกับนามวลี บุพบทวลีอาจปรากฏหลังนามวลี หลังกริยาวลีหรือต้นประโยคก็ได้

      วิเศษณ์วลี คือ วลีที่ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายของอกริยาวลี วิเศษณ์วลี มักมีคำวิเศษณ์เป็นส่วนหลัก อาจมีคำวิเศษอื่นหรือมีวลีอื่นร่วมก็ได้



 ประโยค
    ประโยค คือ หน่วยทางภาษาที่ประกอบด้วยคำ หรือหลายคำเรียงต่อกันกรณีที่เป็นคำหลายคำเรียงต่อกันคำเหล่านั้นต้องมีความสัมพันธ์ทางไวยกรณ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง

    ส่วนประกอบของประโยค
         ประโยคประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๒ ส่วนคือ นามวลีที่ทำหน้าที่เป็นประธาน กับ กริยาวลีที่ทำหน้าที่เป็นภาคแสดง
                  ประธาน คือ นามวลีซึ่งอาจเป็นคำนามหรือคำเดี่ยวหรือคำนามกับส่วนขยาย มีความสัมพันธ์      กับภาคเเสดงในด้านวากยสัมพันธ์และความหมายในฐานะที่เป็นผู้แสดงกิริยาอาการผู้แสดงภาพ หรือ      เจ้าของคุณสมบัติ

                  ภาคแสดง คือ กริยาวลีที่แสดงกิริยาอาการสภาพหรือคุณสมบัติของประธาน ภาคแสดงจะต้องมีคำกริยาอยู่ด้วยเสมอ และอาจมีหน่วยกรรม หน่วยเติมเต็ม หรือหน่วยขยายก็ได้




คำ

คำ
     
       หน่วยคำเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของภาษาไทยที่มีความหมาย ชึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับนิยามของคำ จะพบว่า นิยามของหน่วยคำนั้นรัดกุมและชัดเจนกว่า    


      คำ หมายถึง หน่วยที่เล็กที่สุดของเสียงพูด (หรืออักษรที่ใช้แทนเสียงพูด) ที่มีความหมายในตัว

      พยางค์เพียงพยางค์เดียวที่มีความหมาย เรียกว่า คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย น้า อา ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น พยางค์ที่รวมกันหลายพยางค์จึงจะมีความหมาย เรียกว่า คำหลายพยางค์ เช่น นาฬิกา โกโรโกโส เป็นต้น

     คำที่ใช้ในภาษาไม่อาจคงอยู่ได้นานคงทนไปทุกคำ บางคำคงอยู่ได้ บางคำเลิกใช้ไปพร้อมกันนั้นก็มีคำขึ้นใหม่ชดเชยคำที่เลิกใช้และเพิ่มขึ้นใหม่โดยตรง เพื่อสนองความต้องการของสังคมไทยที่เปลี่ยนแปลงไป

    คำที่เกิดขึ้นใหม่บางคำ เช่น คำคะนอง (slang) โดยมากใช้อยู่ช่วงเวลาหนึ่งก็เลิกไป แต่บางคำอาจติดอยู่ในภาษาไทยได้นาน

    คำเป็นพื่นฐานที่สำคัญในการเรียนรู้เรื่องประโยค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาคำโดด คำในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป เพื่อบอกหน้าที่แตกต่างทางไวยากรณ์หรือเพื่อบอกความสัมพันธ์ของคำที่เรียงกันอยู่ในประโยค คาวมสัมพันธ์ของคำแสดงด้วยการปรากฏร่วมกันของคำและลำดับหรือตำแหน่งที่ปรากฏก่อนหลังของคำ เมื่อคำปรากฏร่วมกันอาจทำหน้าที่แยกกันหรือร่วมเข้าด้วยกันเป็นหน่วยเดียวและทำหน้าที่เดียวกันก็ได้

   ชนิดของคำ
       เกณฑ์การจำแนกคำมีหลายเกณฑ์ จำนวนของคำก็แตกต่างกันไป เช่น พระยาอุปกิตศิลปสาร จำแนกคำออกเป็น ๗ ชนิด ได้แก่ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำวิเศษณ์ คำบุพบท คำสันธานและคำอุทาน




พยางค์

         พยางค์  คือ เสียงที่เปร่งออกมาครั้งหนึ่งๆ จะมีความหมายหรือไม่มีความหมายก็ได้  เช่น จะ เต่า หนู กระทะ ชะนี ฯลฯ
   
         พยางค์มีองค์ประกอบอย่างน้อย ๓ อย่าง คือ พยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ อาจจะมีพยัญชนะการันต์หรือตัวการันต์เพิ่มเติมขึ้นมาอีกก็ได้
               
           ๓ ส่วน           โต     ประกอบด้วย        พยัญชนะต้น             ต
                                                                      สระ                           โอ
                                                                      วรรณยุกต์                 เสียงสามัญ  ไม่มีรูปปรากฏ

           ๔ ส่วน        เลห์     ประกอบด้วย        พยัญชนะต้น            ล
                                                                     สระ                          เอ
                                                                     วรรณยุกต์                เสียงโท รูปไม้เอก
                                                                     พยัญชนะการันต์      ห

            ๕ ส่วน       รัตน์     ประกอบด้วย        พยัญชนะต้น            ร
                                                                     สระ                          อะ
                                                                     พยัญชนะท้าย         ต
                                                                     วรรณยุกต์                เสียงตรี  ไม่มีรูปปรากฏ
                                                                     พยัญชนะการันต์      น




                   
                                               

รูป สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ ในภาษาไทย

รูปสระสระในภาษาไทยมี ๒๑ รูป ซึ่งรูปสระเหล่านี้จะนำไปประกอบเป็นรูปสระที่ใช้จริงอีกต่อหนึ่ง 

ะ วิสรรชนีย์ นมนางทั้งคู่                                   " ฟันหนู, มูสิกทันต์                                  อ ตัวออ

ั ไม้หันอากาศ หางกังหัน ไม้ผัด                          ุ ตีนเหยียด ลากตีน                                 ย ตัวยอ

็ ไม้ไต่คู้ ไม้ตายคู้                                               ู ตีนคู้                                                    ว ตัววอ

า ลากข้าง                                                       เ ไม้หน้า                                                 ฤ ตัวรึ

ิ พินทุ์อิ                                                           ใ ไม้ม้วน                                                ฤๅ ตัวรือ

่ ฝนทอง                                                          ไ ไม้มลาย                                              ฦ ตัวลึ

ํ นิคหิต นฤคหิต หยาดน้ำค้าง                            โ ไม้โอ                                                   ฦๅ ตัวลือ


รูปพยัญชนะไทย มี ๔๔ รูป 








รูปวรรณยุกต์ มี ๔ รูป ๕ เสียง

รูปวรรณยุกต์

่ ไม้เอก

้ ไม้โท

๊ ไม้ตรี

๋ ไม้จัตวา

  
เสียงวรรณยุกต์

เสียงสามัญ

เสียงเอก

เสียงโท

เสียงตรี

เสียงจัตวา






เสียงของอักษรไทย

     
เสียงของอักษรไทย
     ทุกชนชาติทุกภาษามีอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงเหมือนกัน แต่หากมีภาษาที่แตกต่างกัน เพราะแต่ละกลุ่มชนเลือกเสียงมาใช้เพียงจำนวนหนึ่งซึ่งเป็นเสียงสำคัญในแต่ละภาษา เสียงที่ถูกเลือกมาเป็นเสียงสำคัญนี้ วิชาภาษาศาสตร์เรียกว่า หน่วยเสียง
   
   หน่วยเสียง (Phoneme) หมายถึง เสียงพูดที่ใช้กันในภาษาหนึ่งๆ ซึ่งหน่วยเสียงเเต่ละภาษาก็ย่อมมีความแตกต่างกันไป

   ในภาษาไทย เสียงที่ใช้ก็จะมีเสียง สระ พยัญชนะและเสียงวรรณยุกต์

       เสียงสระ สำหรับภาษาไทยมีสระ ๒๑ รูป ๒๑ เสียง  เสียงสระ คือ เสียงที่เปล่งออกมาโดยไม่ถูกอวัยวะภายในกักลม ดังนั้นเสียงสระจึงเป็นเสียงห้อง และออกเสียงให้ยาวนานได้ อวันยวะที่เกี่ยวกับการออกเสียงสระได้แก่ลิ้นกับริมฝีปาก ถ้าลิ้นส่วนใดทำหน้าที่เพียงส่วนเดียวเสียงสระที่เกิดขึ้นจะมีเพียงเสียงเดียวจะเรียกสระประเภทนี้ว่า สระเดี่ยว หากมีลิ้นส่วนอื่นทำหน้าที่ด้วยก็จะเรียกว่าสระประสม
           
                ๑.) เสียงสระ หรือเสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นด้วยอวัยวะส่วนใดในปาก แล้วเกิดเสียงก้องกังวาน และออกเสียงได้ยาวนาน ซึ่งเสียงสระในภาษาไทยแบ่งออกเป็น            - สระเดี่ยว มีจำนวน ๑๘ เสียง โดยสระเดี่ยว แบ่งออกเป็น
                   สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่ อะ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ
                   สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่ อา อี อื อู เอ แอ โอ ออ เออ
           - สระประสม มีจำนวน ๖ เสียง โดยสระประสม แบ่งออกเป็น
                   สระเสียงสั้น (รัสสระ) ได้แก่
                        เอียะ เกิดจากการประสมของ สระอิ + สระอะ
                        เอือะ เกิดจากการประสมของ สระอึ + สระอะ
                        อัวะ เกิดจากการประสมของ สระอุ + สระอะ
                  สระเสียงยาว (ทีฆสระ) ได้แก่
                        เอีย เกิดจากการประสมของ สระอี + สระอา
                        เอือ เกิดจากการประสมของ สระอื + สระอา
                        อัว เกิดจากการประสมของ สระอู + สระอา
*ส่วนเสียงสระ เอียะ เอือะ อัวะ  มักเกิดในการเลียนเสียงหรือคำยืมในภาษาต่างประเทศและไม่ค่อยประกฎในภาษาไทยจึงไม่นับ

              ๒.) เสียงพยัญชนะ หรือเสียงแปร คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำคอ แล้วกระทบกับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น คอ ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเป็นเสียงต่าง ๆ กัน โดยพยัญชนะไทยมี ๒๑ เสียง ๔๔ รูป ดังต่อไปนี้
                                                   

 เสียงพยัญชนะ
รูปพยัญชนะ 















/ ก /
/ ค /
/ ง /
/ จ /
/ ช /
/ ซ /
/ ย /
/ ด /
/ ต /
/ ท /
/ น /
/ บ /
/ ป /
/ พ /
/ ฟ /
/ ม /
/ ร /
/ ล /
/ ว /
/ ฮ /
/ อ /

 ข  ฃ  ค  ฆ


ช  ฉ  ฌ
ซ  ส  ศ  ษ
ญ  ย
ฎ  ด
ฏ  ต
ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ 
น  ณ


ผ  พ  ภ
ฝ  ฟ


ล  ฬ

ห  ฮ
 



                ๓.) เสียงวรรณยุกต์ หรือเสียงดนตรี ก็คือ เสียงสระ หรือเสียงพยัญชนะ ซึ่งเวลาเปล่งเสียงแล้วเสียงจะมีระดับสูง ต่ำ เหมือนกับเสียงดนตรี สำหรับเสียงวรรณยุกต์ที่ใช้ในภาษาไทยมี ๕ เสียง ดังนี้

เสียงวรรณยุกต์                 รูปวรรณยุกต์
เสียงสามัญ                    ไม่มีรูป
                                                         เสียงเอก                         ่           
                                                         เสียงโท                           ้ 
                                                         เสียงตรี                           ๊     
                                                         เสียงจัตวา                       ๋